วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Exercise 1 : Look up your dictionary and try to add the tense form



Exercise 1 :Look up your dictionary and try to add the tense form.

INFINITIVE
PAST TENSE
 PAST PARTICIPLE
PRESENT PARTICIPLE

fax
faxed
faxed
faxing
give
gave
given
giving
make
made
made
making
shed
shed
shed
shedding
overthrow
overthrew
overthrown
overthrowing
freeze
froze
frozen
freezing
wet
Wet/wetted
bankrupted
wetting
receive
received
received
receiving
hang
hung
hung
hanging


Exercise 3 :Answer these questions from the entries which are given

1.What is the part of speech of the headword “computerize”?
            -Verd 

2. What is the past participle form of the word “bleed” ?
            - Bled 

3. What is the plural form of the word “datum”?
-datum

4. If AmE word uses “candy”, how can BrE word be for the same meaning?
           - candies

5. Give 2 compound words of the word entry “chicken”.
- Chick+en

6. Give 2 derivative words of the word entry “business”.
         - Busi + ness

7. What is the phonetic transcription of the word “English”?
       - Language  is  ony  the  vehicle  thought, it  is a great  and  efficient  instrument  in thinking.

8. What is the comparative form of the word “sad”?
      - sedder

9. What is the meaning of the acronym “WYSIWYG”
         - Denoting  the  representation of text on-screen  in a  form  exactly  corresponding  to its appearance  on a printout.

10. What is the superlative form of the word “diligent”?
           - Diligen

nouns

Nouns













Nouns

Noun แปลว่า “ชื่อ” ได้แก่ “คำที่เป็นชื่อของคน, สัตว์, สิ่งของ, สถานที่, คุณสมบัติ หรือคุณค่าต่างๆ” แบ่งออก
เป็น 8 ชนิดคือ
1.Common nounสามานยนาม
2.Proper nounวิสามานยนาม
3.Collective nounสมุหนาม
4.Material nounวัตถุนาม
5.Abstract nounอาการนาม
6.Noun Equivalentสมมูลย์นาม
7.Compound nounนามผสม
8.Agent nounนามแสดงความเป็นผู้กระทำ

Countable and Uncountable Noun

        Countable Noun แปลว่า “นามนับได้” หมายความว่า นามตัวนั้นสามารถนับได้เป็นรายชิ้น รายสิ่ง รายอัน และรายบุคคลโดยนามนั้นเองเป็นเอกเทศ ไม่ต้องอาศัยวัตถุเครื่องชั่ง ตวง วัด อย่างอื่นมาช่วยนับ และนามนับได้ดังว่านี้ก็สามารถเติมเลขจำนวนนับประกอบข้างหน้าได้ด้วยเช่น one man, two men, three boys, four girls etc.  นอกจากนี้แล้วก็สามารถทำเป็นพหูพจน์ได้ ดังนั้นนามทั้ง 8 ชนิดที่กล่าวมาก็จัดเข้าในประเภท “เป็นนามนับได้” ดังนี้

Common Noun=  สามานยนาม เช่น boy, book, cat, house
Proper Noun=  วิสามานยนาม เช่น Sak, John, Marry, Jim
Collective Nounสมุหนาม เช่น a group of student, jury
Compound Nounนามผสม เช่น Living-room, cowboy
Agent Noun= นามแสดงความเป็นผู้กระทำ เช่น sailor, visitor
ทั้ง 5 ชนิดนี้จัดเข้าในประเภทเป็นนามนับได้ ขอให้เพื่อนๆจดจำไว้ให้ดีนะจ๊ะ สรุปแล้วนามที่จะถือเป็นนามนับได้นั้นต้องมีคุณสมบัติ 3 อย่างคือ :-
1.นับได้เป็นรายอันโดยนามนั้นเอง
2.ทำเป็นพหูพจน์ได้
3.ใช้เลขนับจำนวน one, two,three ประกอบข้างหน้าได้  Uncountable Noun  แปลว่า “นามนับไม่ได้” หมายความว่านามตัวนั้นไม่สามารถนับได้เป็นรายตัว รายสิ่ง รายอัน ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน แยกนับเป็นรายตัวไม่ได้ แสดงความว่า “มาก” หรือ “น้อย” ด้วยปริมาณ เช่น much water, little ink ไม่ใช้ด้วยจำนวนเป็นหนึ่ง สอง สาม นอกจากนี้ก็ทำเป็นเป็นรูปพหูพจน์โดยนามตัวนั้นไม่ได้ (แต่สามารถทำได้โดยวิธีอื่นจะอธิบายในด้านล่างนะครับ) ดังนั้นนามทั้ง 8 ชนิด เมื่อจัดเข้าในประเภทนับไม่ได้ ก็จัดได้ดังนี้ :-
Material Noun (หรือ Mass Noun) = วัตถุนาม หรือนามมวลสาร เช่น gold, air, copper, ink, sand .
Abstract Noun = อาการนาม เช่น education, politics, goodness, wisdom, experience etc.
Non-Equivalent Noun = นามสมมูลย์ เช่น To walk, to eat, what to do, how to say, etc.
นามทั้ง 3 ชนิดที่กล่าวมานี้จัดเข้าในประเภท “นามนับไม่ได้” เพราะตัวนามนั้นเราไม่สามารถนับแยกเป็นหนึ่ง สอง ได้ เพราะมันอยู่รวมเป็นกลุ่มก้อน สรุปแล้วลักษณะของนามนับไม่ได้มีอยู่ 3 อย่างคือ
1.นับไม่ได้เป็นรายสิ่ง เพราะรวมกันเป็นกลุ่มก้อน
2.ทำเป็นรูปพหูพจน์ไม่ได้ (มีรูปเอกพจน์อย่างเดียว)
3.แสดงจำนวนด้วยปริมาณมากหรือน้อยเท่านั้น
การทำนามนับไม่ได้ให้เป็นนามนับได้
เพื่อนๆทุกคนครับ นามนับไม่ได้นั้นบางครั้งเมื่อจำเป็นอยากทราบจำนวน ก็ทำให้เป็นเสมือนนามนับได้ แต่ทั้งนี้ต้องอาศัย วัตถุ  ภาชนะ หรือ เครื่องชั่ง ตวง วัด ชิ้น ส่วน อย่างอื่นเข้ามาเป็นเครื่องนับนามที่นับไม่ได้ ให้เป็นนามนับได้แทน ตามสูตรการสร้างคำดังนี้  Common Noun + of + Material(Mass) Noun เช่น
รูปเอกพจน์ (Singular Noun)
a piece of paperกระดาษหนึ่งแผ่น
a drop of waterน้ำหนึ่งหยด
an item of newsข่าวหนึ่งเรื่อง
a bar of soapสบู่หนึ่งก้อน
a roll of clothผ้าหนึ่งม้วน
a loaf of breadขนมปังหนึ่งก้อน
a bag of flourแป้งหนึ่งถุง
a bottle of milkนมหนึ่งขวด
a basket of fruitผลไม้หนึ่งกระจาด
a cup of teaชาหนึ่งถ้วย
a glass of waterน้ำหนึ่งแก้ว
a yard of ribbonริบบ๊อนหนึ่งหลา
a ton of coalถ่านหนึ่งตัน
a kilo of sugarน้ำตาลหนึ่งกิโล
a metre of silkผ้าไหมหนึ่งเมตร
รูปพหูพจน์ (Plural Noun)
many pieces of paperกระดาษหลายแผ่น
three drops of waterน้ำ 3 หยด
two items of newsข่าว 3 เรื่อง
five bars of soapสบู่ 5 ก้อน
few rolls of clothผ้า 2-3 ม้วน
six loaves of breadขนมปัง 6 ก้อน
several bags of flourถุงแป้งหลายถุง
two bottles of milkขวดนม 2 ขวด
four baskets of fruitผลไม้ 4 กระจาด
cups of teaชาหลายถ้วย
glasses of waterน้ำหลายแก้ว
เอาหล่ะครับเพื่อนๆ หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกัลนามประเภทต่างๆกันมาพอสมควรแล้ว ต่อไปเราจะมาทำความเข้าใจในเรื่องของหน้าที่ของนามกันนะครับว่า มันมีหน้าที่อะไร ถ้าอยากรู้แล้วก็คลิกที่ลิ๊งค์ด้านล่างเพื่อตามอ่านกันเลยครับ
1)  ทำหน้าที่เป็นประธานของกริยาในประโยคได้ (Subject of a Verb) เช่น
Somsak is a student of the English language.  สมศักดิ์เป็นนักศึกษาภาษาอังกฤษ
(Somsakเป็นนามที่มาทำหน้าที่เป็นประธานของกริยา is ในประโยค)
ข้อสังเกต  :  การใช้นามที่ทำหน้าที่เป็นประธาน จะวางไว้หน้ากริยาเสมอ
2)  ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา (Object of a Verb) ในประโยคได้ เช่น
Jack loves Jane.  แจ็ครักเจน
3)  ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุรพบท (Object of a preposition) ในประโยคได้ เช่น
We think of the teacher when we leave school.  เราคิดถึงคุณครูเมื่อเราออกจากโรงเรียน(เรียนจบแล้ว)ข้อสังเกต  :  นามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุรพบทใด ให้เรียงไว้หลังบุรพบทตัวนั้น
4)  ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยาเพื่อขยายให้ประธานได้ความชัดเจนขึ้น (Subjective Complement) ได้ ส่วนมากนามที่นำมาใช้ตามข้อ 4 นี้มักจะเรียงตามหลัง Verb to be, become เช่น :
She was a nurse two years ago.  หล่อนเป็นนางพยาบาลเมื่อ 2 ปีก่อน
 nurse เป็นนาม นำมาใช้ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา was ในประโยค)
5)  ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายกรรม เพื่อให้กรรมตัวนั้นมีเนื้อความกระจ่างขึ้น (Objective Complement) หรืออีกในหนึ่งจะเรียกว่า ทำหน้าที่เป็นทั้งกรรม (Object) และส่วนสมบูรณ์ (Complement) พร้อมกันทีเดียวก็ได้ เช่น :-
We elected Mr.Sombat leader.  เราเลือกนายสมบัติเป็นหัวหน้า(ผู้นำ)
(leaderเป็นคำนาม แต่ในประโยคนี้นำมาใช้ทำหน้าที่เป็นตัวขยายกรรม (Object) ที่อยู่ข้างหน้ามันคือ Sombat)
ข้อสังเกต  :  นามที่ไปทำหน้าที่ขยายกรรมใด ให้เรียงไว้หลังกรรมนั้นทุกครั้งไป
6)  ทำหน้าที่เป็นนามซ้อนนามที่อยู่ข้างหน้า (in apposition) ได้ และระหว่างนามข้างหน้ากับนามที่ไปซ้อนตามหลังจะต้องใส่เครื่องหมาย Comma (,) คั่นเอาไว้ทุกครั้ง และการไปซ้อนนั้นแยกออกเป็น 2 กรณี คือ
ก.  ซ้อนในส่วนที่เป็นประธานของประโยค (noun in subjective apposition) ให้วางไว้หลังประธานตัวนั้น เช่น
Obama,the president of the U.S.A., visited Thailand.  โอบาม่าประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาได้มาเยือนประเทศไทย
Thailand เป็นคำนามทั้งนั้น แต่ในที่นี้นำมาใช้ทำหน้าที่ซ้อนนามที่อยู่ข้างหน้าคือ  Obama
ข.  ซ้อนในส่วนเป็นเป็นกรรมของกริยาในประโยค (Noun in Objective apposition) ให้วางไว้หลังกรรมตัวนั้น เช่น :
We admire our teacher,Mr.Jackson.  เรายกย่องครูของเรา มิสเตอร์แจ็คสัน
(Mr.Jackson เป็นนาม แต่ในที่นี้นำมาใช้ทำหน้าที่เป็นนามซ้อนตัวกรรมที่อยู่ข้างหน้า ได้แก่คำว่า teacher
7)  ทำหน้าที่เป็นนามเรียกขาน (An Address) ในประโยคได้ (บางตำราเรียกว่าเป็นนามเรียกชื่อ (Vocative) ก็มี) เช่น :-
Robert, please close the door.  โรเบิร์ต กรุณาปิดประตูหน่อยครับ
ข้อสังเกต : นามที่ทำหน้าที่เป็นนามเรียกขาน จะวางไว้ตรงไหนของประโยคก็ได้ ต้น กลาง ท้าย และให้สังเกตการใช้เครื่องหมาย Comma (,) กับนามที่ทำหน้าเรียกขานไว้ให้แม่นยำด้วยสำหรับการวางแต่ละอย่าง
8 )  ทำหน้าที่แสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive Case) ของนามทั่วไปได้ ทั้งนี้โดยอาศัยเครื่องหมาย Apostrophe’s ทุกครั้ง เพื่อเชื่อมความเป็นเจ้าของ เช่น :-
The teacher’s table is standing in the front of the class.  โต๊ะของคุณครูตั้งอยู่หน้าชั้น
(teacherเป็นนาม แต่ในทั้งประโยคนี้ นำมาใช้เป็นนามแสดงความเป็นเจ้าของ ของอะไร? ก็ของนามที่ตามหลังนั่นเองครับ)
ข้อสังเกต : นามที่ทำหน้าที่แสดงความเป็นเจ้าของของนามใด ให้วางไว้หน้านามตัวนั้นทุกครั้งไป
9)  ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ (Adjectival Noun) ประกอบนามด้วยกันได้ โดยวางไว้หน้านามนั้น เช่น :-
The football match for today is very interesting. การแข่งขันฟุตบอลสำหรับวันนี้น่าสนใจมาก
(footballเป็นคำนาม แต่ในประโยคนี้ ทำหน้าที่ขยายนามหรือเป็นคุณศัพท์ของนาม match (การแข่งขัน)ที่ตามหลัง)
ข้อสังเกต :  นามที่ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ประกอบนามกับนามใด ให้เรียงไว้หน้านามนั้น
10)  ทำหน้าที่เป็นกรรมซึ่งมีลักษณะและความหมายเดียวกันกับกริยาที่อยู่ข้างหน้า (Cognate Object) เช่น :-
Dr.Boonsanong died an accident death.  ดร.บุญสนองตายเพราะอุบัติเหตุ

(คำว่า deathในประโยคเหล่านี้เป็นนาม คืออาการนาม (Abstract Noun) แต่นำมาใช้เป็นกรรมของกริยาที่มีลักษณะและความหมายเดียวกัน)
11)  ทำหน้าที่เป็นประธานอิสระของกลุ่มคำที่เป็นส่วนของกริยาวลี (Absolute Subject of Participial Phrase) แล้วไปทำหน้าที่ขยาย Subject ในประโยค Main Clause อีกทีหนึ่ง เช่น :-
Dinner being over, we all sat and talked.  เมื่อ(ทาน)อาหารมื้อเย็นเสร็จแล้ว พวกเราทุกคนก็นั่งคุยกัน
อืม!!! เกือบลืมบอกเพื่อนๆนะครับว่าตัวประธานของประโยค Main Clause กับประธานอิสระ (Absolute Subject) ของกลุ่มคำ Participle Phrase นั้นต้องเป็นคนละคนกัน และคำที่จะมาทำหน้าที่เป็นประธานอิสระนั้นเป็นสรรพนาม (Pronoun) ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นแต่นามอย่างเดียวครับ เช่น :-
He having finished his work, we left the office together.  เมื่อเขาทำงานเสร็จแล้ว เราก็ออกจากสำนักงานไปด้วยกัน เป็นต้น
Common noun
แปล่วา “สามานยนาม” หมายถึง “นามที่เป็นชื่อทั่วไปของคน, สัตว์, สิ่งของ และสถานที่ ไม่ได้ชี้เฉพาะเจาะจงลงไปว่าเป็นคนนั้น คนนี้” เช่น :
The man works in the garden.  ผู้ชายทำงานอยู่ในสวน
The bird sings sweetly in the bush.  นกร้องอย่างไพเราะอยู่ในพุ่มไม้
The basket if full of oranges.  กระจาดเต็มไปด้วยส้ม
There is a new house in a large city.  มีบ้านใหม่หนึ่งหลังอยู่ในเมืองอันใหญ่โต
คำว่า man, garden, bird, bush, basket, oranges, house และ city ที่พิมพ์ด้วยตัวหนานั้นเป็นCommon Noun เพราะหมายถึง ผู้ชาย สวน นก พุ่มไม้ กระจาด ส้ม บ้านและเมืองทั่วไปที่ไหนก็ได้ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง
Proper Noun
แปลว่า “วิสามานยนาม” หมายถึง “นามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน, สัตว์, สิ่งของ และสถานที่ Proper Noun เวลาเขียนต้องใช้ตัวอักษรใหญ่ (Capital Letter) ขึ้นต้นเสมอไม่ว่าจะวางไว้ตรงไหนของประโยคก็ตาม (จุดนี้ขอให้เพื่อนๆจำไว้ให้ดีนะครับอย่าเผลอเด็ดขาดเรื่องนี้)
เช่น :
Somchit lives at Paknam but works in Bangkok.  สมจิตอยู่ปากน้ำแต่มาทำงานอยู่กรุงเทพฯ
Columbus discovered America by himself.  โคลัมบัสค้นพบอเมริกาด้วยตัวเขาเอง
London is the capital of England.  ลอนดอนเป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ
Sony Television is more expensive than Sanyo.  โทรทัศน์โซนี่แพงกว่าซันโย
คำว่า Somchit, Paknam, Bangkok, Columbus, America, London, England, Sony และ Sanyo ที่พิมพ์ด้วยตัวหนานั้นเป็นชื่อเฉพาะของแต่ละอย่างไป จึงจัดเข้าในประเภท Proper noun.
Collective Noun แปลว่า “สมุหนาม” หมายถึง “นามที่เป็นชื่อของหมู่คณะ, ฝูง, พวก, กลุ่ม  ซึ่งปกติแล้วCollective Noun จะใช้รวมกับ Common Noun เสมอทั้งนี้โดยมี of มาคั่นเพื่อเน้นให้ความเป็นหมู่หรือคณะนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น ตามสูตรรูปแบบของนามดังนี้
Collective Noun + of + Common Nounภาษาไทยแปลว่า
A flockof sheepแกะฝูงหนึ่ง
A bunchof flowersดอกไม้ช่อหนึ่ง
A herdof cattleโคฝูงหนึ่ง
A heapof stonesหินกองหนึ่ง
A gangof thievesขโมยแก๊งหนึ่ง
A flockof chickensลูกไก่คอกหนึ่ง
A clusterof starsดาวกลุ่มหนึ่ง
A crowdof peopleคนหมู่หนึ่ง
A groupof studentsนักศึกษากลุ่มหนึ่ง
A tribeof citizensพลเมืองเผ่าหนึ่ง เป็นต้น

Material Noun
แปลว่า “วัตถุนาม” หมายถึง “นามที่เป็นชื่อของวัตถุ ได้แก่ แร่ ธาตุ โลหะ ของแข็ง ของเหลว หรือบางครั้งจะเรียกว่า Mass Noun (นามมวลสาร) ก็ได้ เพราะนามจำพวกนี้อยู่เป็นกลุ่มก้อน แสดงความมากน้อยด้วยปริมาณ (quantity) ไม่ใช่ด้วยจำนวน (Number) และนามชนิดนี้ไม่ใช้ Article นำหน้า” Material Noun ได้แก่นามต่อไปนี้
sugarน้ำตาลbreadขนมปัง
creamครีมflourแป้ง
riceข้าวgoldทอง
coalถ่านsoilดิน
woodไม้clothเสื้อผ้า
leatherหนังสัตว์copperทองแดง
waterน้ำoilน้ำมัน
inkน้ำหมึกairอากาศ
mudโคลนsmokeควัน
soapสบู่furnitureเครื่องเรืยน

       Abstract Noun แปลว่า “อาการนาม” หมายถึง นามที่เป็นชื่อของสภาวะ สถานะ คุณลักษณะ หรือการกระทำของ คน สัตว์ สิ่งของต่างๆ ดังลักษณะต่อไปนี้ :-
Death comes to all men.  ความตายย่อมมาสู่คนเราทุกคน
It gives me much pleasure to see you here.  ยินดีมากที่ได้พบคุณที่นี่
I have no choice in this matter.  ผมไม่มีทางเลือกในเรื่องนี้
Prevention is better than cure.  กันไว้ดีกว่าแก้        Noun-Equivalent  แปลว่า “นามสมมูลย์” หมายถึง คำหรือหมู่คำใดๆ ซึ่งตามรูปลักษณะแล้วไม่ได้เป็นนามแต่นำมาใช้ทำหน้าที่เช่นเดียวกับนามหรือใช้เสมือนหนึ่งเป็นนาม เรียกคำนั้นว่า Noun-Equivalent ในภาษาอังกฤษที่นำมาใช้เป็น Noun-Equivalent มีอยู่ 8 ชนิดได้แก่
1. Infinitive ได้แก่กริยาที่มี to นำหน้า เช่น to go, to come, to walk, to sleep นำมาใช้อย่าง Noun ได้เช่น
To sleep is necessary for health.  การนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพ
2. Gerund ได้แก่ กริยาที่เติม ing (Verb-ing) เช่น running, walking, sleeping, eating, reading, etc. นำมาใช้อย่าง Noun ได้เช่น
Sleeping at midday is necessary for baby.  การนนอนหลับเวลากลางวันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็ก
       (Sleeping นำมาใช้อย่างนาม (Noun-Equivalent) ทำหน้าที่เป็นประธานในประโยค)
3. Adjective (คุณศัพท์) บอกลักษณะเช่น good(ดี), brave(กล้าหาญ), rich(ร่ำรวย), poor(ยากจน), etc. นำมาใช้อย่างนาม (Noun-Equivalent) ได้ แต่ต้องใช้โดยมี the นำหน้าทุกครั้ง และให้ถือเป็นพหูจน์ด้วย เช่น :
The good should be praised.  คนดีทั้งหลายควรได้รับการยกย่อง
(good เป็นคุณศัพท์แต่นำมาใช้อย่างนาม (Noun-Equivalent) ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)
4. Phrase (วลี) นำมาใช้อย่างนาม (Noun-Equivalent) ได้ เช่น :-
Where to go is not known.  จะไปไหนยังไม่มีใครทราบ
(Where to go เป็นวลีแต่นำมาใช้อย่างนาม และทำหน้าที่เป็นประธานในประโยคนี้)
5. Clause (อนุประโยค) นำมาใช้อย่างนาม (Noun-Equivalent) ได้ เช่น :-
What he is doing now is difficult for us to know.  เขากำลังทำอะไรอยู่ตอนนี้ยากสำหรับเราที่จะรู้ได้
(what he is doing now เป็น clause (คือ Noun Clause) แต่นำมาใช้อย่างนาม (Noun-Equivalent) ทำหน้าที่เป็นประธานในประโยค)
     Compound Noun แปลว่า “นามผสม” หมายถึงการนำเอานาม 2 ตัวมาเขียนติดกันเป็นคำเดียว หรือจะเขียนแยกกันอยู่โดยมี Hyphen (-) มาคั่นด้วยหรือไม่มีก็ได้ ก็ถือว่านามนั้นเป็นนามผสม (Compound Noun) ได้ตามความหมายนี้ ดังนั้น นามผสมจึงมีแหล่งกำเนิดมาในหลายรูปแบบได้หลายอย่างดังต่อไปนี้ :-
1. โดยการนำเอานาม 2 ตัวมาเขียนติดกัน แล้วกลายเป็นนามผสมขึ้นมา (Compound Noun) ได้ เช่น
life + boat  =  lifeboat  เรือช่วยชีวิตmoon + light  =  moonlight  แสงจันทร์
cow + boy  =  cowboy  โคบาลmail + box  =  mailbox  ตู้รับจดหมาย
door + man  =  doorman  คนเฝ้าประตูcountry + man  =  countryman  =  country คนบ้านนอก
2.  โดยการนำเอา Ver-ing บ้าง, นามบ้าง มาเขียนเป็นคำเดียวติดกันกับนามตัวอื่นโดยมีเครื่องหมาย Hyphen (-) คั่นเอาไว้ แล้วนามนั้นก็จะกลายเป็นนามผสม (Compound Noun) ขึ้นมาทันที เช่น
court – martial  =  ศาลทหารswimming – pool  =  สระว่ายน้ำ
living – room  =  ห้องรับแขกhand – organ  =  หีบเพลง
looking – glass  =  กระจกส่องschool – boy  =  นักเรียนชาย
3.  โดยการนำเอานามตัวหนึ่งไปประกอบหน้านามอีกตัวหนึ่ง ทั้งนี้นามตัวหลังเป็นนามหลักหรือนามยืน ส่วนตัวหน้าเป็นนามประกอบ (หรือจะเรียกว่าเป็น Adjective ก็ได้) แล้วนามทั้ง 2 ตัวที่มารวมกันนั้นก็กลายเป็นนามผสม (Compound Noun) ทันที และนามผสมตามข้อนี้ต้องเขียนแยกกัน ไม่นิยมใช้ Hyphen (-) มาคั่นด้วย เช่น
Bangkok Bank  ธนาคารกรุงเทพฯmango tree  ต้นมะม่วง
football game  กีฬาฟุตบอลsalt water  น้ำเค็ม

Agent Noun แปล่วา “นามที่แสดงความเป็นผู้กระทำ” นามชนิดนี้มีรูปมาจากกริยา หรือนามโดยการเติมปัจจัย (suffix) er, or, ent, ant, ist, และ ician ที่ท้ายกริยาหรือนามตัวนั้นแล้วกริยาหรือนามที่ถูกปัจจัยเหล่านี้เติมก็จะกลายเป็น Agent Noun คือนามที่แสดงความเป็นผู้กระทำแล้วนำมาใช้เช่นนามทั่วๆไป ได้แก่
Verb เดิมคำแปลเติมปัจจัยแล้วคำแปล
actกระทำactorผู้กระทำ (แสดง)
sailแล่นเรือsailorกลาสีเรือ
serveรับใช้servantคนใช้
studyศึกษา, เรียนstudentนักเรียน
attendตั้งใจattendantผู้ติดตาม
pianoเปียโนpianistนักเปียโน
presideเป็นประธานpresidentประธาน
musicดนตรีmusicianนักดนตรี
historyประวัติศาสตร์historianนักประวัติศาสตร์
visitเยี่ยมvisitorผู้มาเยี่ยม



Photo: อันนี้ฝากเด็กๆ หรือครูสอนเด็กๆคะ รูปภาพสวยๆว่าอาหารที่เรากินกันเนี่ย อันไหนจัดเป็นนามนับๆ้ได้ อันไหนจัดเป็นนามนับไม่ได้



แหล่งที่มา
https://www.facebook.com/kasetsartsakon
http://englishgrammar.oporjang.com/
http://www.grammar-monster.com/tests/test_nouns.htm